บทความรวมเรื่องราวต่างๆสำหรับคนใช้รถกระบะ

เครื่องยนต์ดีเซลคืออะไร

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556
รถกระบะในวันนี้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้อย่างมากจนกล่าวได้ว่าเป็นรถอเนกประสงค์ใช้งานสารพัดอย่างได้ทั้งงานหรักงานเบาทางผู้ผลิตได้ออกดแบบให้มีความแข็งแรงของตัวถังและเครื่องยนต์ซึ่งเครื่องต์นั้นก็มีทั้งแบบใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง



เครื่องยนต์ดีเซลที่นำมาใช้กับรถกระบะนั้นดูจะได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากความประหยัดของน้ำมันซึ่งราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิล เครื่องยนต์มีความแข็งแรงให้แรงม้าได้มากและบำรุงรักษาง่าย

การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลก็มีหลักการคล้ายๆกับเครื่องยนต์เบนซิล ดังนั้นจึงมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกัน แต่จะถูกส้รางให้แข็งแรงกว่าเพราะการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลต้องอาศัยการอัดตัวของอากาศซึ่งมีแรงดันสูงมาก

การทำงานจะแตกต่างกันที่ วิธีการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและวิธีการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงกับอากาศที่ถูกบรรจุภายในกระบอกสูบ

เครื่องยนต์เบนซิลจะดูดเอาน้ำมันผสมกับอากาศเข้าไปในกระบอกสูบและทำการจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลดูดเอาแต่อากาศอย่างเดียวเข้ากระบอกสูบแล้วอัดอากาศให้มีความร้อนและทำการจุดระเบิดด้วยหัวฉีดน้ำมันเป็นฝอยเข้าไปในจังหวะจุดระเบิด

ด้วยเหตุนี้การผลิตให้เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพในการทำงานเต็มที่จะต้องมีการออกแบบผลิตห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์เพื่อให้การเผาไหม้เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ห้องเผาไหม้ที่ใช้แบ่งใหญ่ๆได้ 2 แบบคือ

1.ห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวนหรือห้องเผาไหม้แบบเปิด
2.ห้องเผาไหม้แบบมีอากาศไหลวนแบ่งได้เป็น
- แบบมีห้องเผาไหม้ช่วย
- แบบใชช้อากาศวกวนแรงดันสูง
- แบบห้องเผาไหม้ 2 ตอน

1. ห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน (The non-turbulent type) ห้องเผาไหม้ประเภทนี้จะไม่มีอากาศอัดตัวไหลวนในห้องเผาไหม้หรือมีก็น้อยที่สุด ลูกสูบของห้องเผาไหม้แบบนี้จะเว้าเป็นแอ่งที่หัวลูกสูบบางทีก็ที่ฝาสูบ หัวฉีดน้ำมันจะอยู่กึ่งกลางและเป็นแบบหลายรู ทำมุมเท่ากันเพื่อให้น้ำมันแตกเป็นฝอยการฉีดน้ำมันจะฉีดโดยตรงเข้าห้องเผาไหม้

ข้อดีของห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน
1.ไม่ต้องอาศัยอากาศวกวนมาก
2.ไม่ยุ่งยากในการซ่อม เพราะฝาสูบเป็นแบบธรรมดา
3.ใช้อัตราส่วนการอัดอากาศได้ต่ำ
4.เครื่องยนต์เดินเรีบยสม่ำเสมอ
5.การฉีดน้ำมันโดยตรงเข้าห้องเผาไหม้ทำให้มีค่าความร้อนต่ำ ติดเครื่องได้ง่ายทุกสภาวะ

ข้อเสียของห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน
1.ความเ็วรอบสูงสุดไม่ค่อยดี
2.การฉีดน้ำมันต้องใช้แรงดันสูง
3.ต้องใช้หัวฉีดชนิดหลายรูและรูเล็กมาก
4.แอ่งบนหัวลูกสูบที่เว้าเอาไว้มักทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันง่ายต่อการเสียรูปทรง

**จากการฉีดน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้โดยตรงเราเรียกระบบนี้ว่า "Direct Injection"

2.ห้องเผาไหม้แบบอากาศวน (Turbulent type) ห้องเผาไหม้ชนิดนี้แบ่งได้เป็น

1. แบบมีห้องเผาไหม้ช่วย (Pre-combustion chamber System) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง ห้องเผาไหม้ช่วยจะทำไว้ที่ฝาสูบหรือทำเป็นห้องเล็กๆบนหัวลูกสูบ การทำงานอาศจะถูกอัดเข้าไปในห้องเผาไหม้ช่วย หัวฉีดจะทำการฉีกน้ำมันจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ช่วยก่อนแล้วจึงลุกลามออกมาภายนอกห้องเผาไหม้ใหญ่ การเผาไหม้จะสมบูรณ์มากขึ้น

ข้อดีของห้องเผาไหม้ชนิดนี้
1.เชื้อเพลิงเกิดการลุกเผาไหม้ง่าย แม้น้ำมันจะฉีดไม่เป็นฝอย
2.แรงดันฉีดน้ำมันต่ำ
3.การเก็บความร้อนไว้ทำให้อุณหภูมิขณะฉีดน้ำมันสูงตลอดเวลา

ข้อเสีย
1.เหมาะกับเครื่องยนต์เล็ก
2.การไล่ไอเสียออกจากห้องเผาไหม้ช่วยจะทำได้ไม่ดี
3.เครื่องยต์ติดยากต้องใช้ห้องเผาช่วย

2.ห้องเผาไหม้แบบอากาศวนแรงดันสูง (The rotation Swirl) ห้องเผาไหม้นี้คล้ายกับแบบที่ 1 แต่ได้ทำการขยายห้องเผาไหม้ช่วยใหญ่ขึ้นละจัดวางไว้ข้างใดข้างหนึ่งของลูกสูบมีลักษณ์ทรงกลม อากาศจะถูกอัดวนไปรอบๆหัวฉีดน้ำัมันสวนทางกับการไหลของอากาศ เกิดการคลุกเคล้าได้ดี

ข้อเสียของห้องเผาไหม้ประเภทนี้ คือ ทางเข้าอากาศของห้องเผาไหม้จะเล็กมากทำให้สูญเสียความร้อนในการไหลวนของอากาศเข้าห้องเผาไหม้เป็นสาเหตุทำให้เครื่องติดยาก

3.ห้องเผาไหม้แบบ 2 ตอน (Air cell) ห้องเผาไหม้แบบนี้จะมีห้องเผาใหม้ใหญ่อยู่ในฝาสูบใต้ลิ้นไอเสียและใต้ห้องเผาใหม้ใหญ่จะมีห้องเผาไหม้เล็ก (Air cell) ติดอยู่ที่ช่องต่อถึงกัน หัวฉีดจะถูกติดไว้ในแนวเดียวกับ Air cell แต่อยู่ตรงข้ามกัน การทำงาน เมื่อลูกสูบทำการอัดอากาศเข้าห้องเผาไหม้ อากาศส่วนถึงจะเข้าไปยัง Air cell หัวฉีกทำการฉีดเชื้อเพลิงฟองน้ำมันส่วนหนึ่งเข้าไปใน Air cell ด้วยและทำการลุกไหม้อย่างรุนแรงหมดจด

ข้อดี
1.ให้กำลังงานได้สูงกว่า
2.การคลุกเคล้าอากาศกับเชื้อเพลิงทำได้ดีกว่า
3.ควบคุมกรเผาไหม้ได้
ข้อเสีย
1.เป็นระบบที่ยุ่งยาก
2.เหมาะกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก
3.ราคาสูง

จากการทำงานของห้องเผาไหม้ชนิดต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเอาไว้ประกอบการพิจารณาในการเป็นเจ้าของรถกระบะเพื่อนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องตรงตามจุดประสงค์ที่ท่านต้องการได้