อุปกรณ์สำคัญของเทอร์โบประกอบได้ด้วย
- ส่วนคอมเพรสเซอร์
- ส่วนเทอร์โบ
- การทำงานของเทอร์โบ
ตัวเทอร์โบประกอบไปด้วยใบพัดของคอมเพรสเซอร์และใบพัดของเทอร์โบหมุนอยู่ยนแกนเดียวกัน แต่อยู่คนละส่วน เมื่อเริ่มทำงาน ไอเสียจากเครื่องยนต์จะถูกต่อมาทางส่วนเทอร์โบน์ ทำให้ใบพัดเทอร์ไบน์หมุนเมื่อแกนเทอไบน์หมุนใบพัดคอมเพรสเซอร์จะดูดอากาศอัดผ่านคาบูเรเตอร์ อัดส่วนผสมไอดีเข้ากระบอกสูบ
ก่อนผ่านคาร์บูเรเตอร์จะมีลิ้นควบคุมกำลังดันเพื่อลดกำลังดันให้เหมาะแก่การติดเครื่องยนต์ไอดีที่ผ่านคาร์บูเรเตอร์จะผ่ายตัวระบายความร้อน (Inter Cooller) เพื่อทำให้ไอดีเย็นลงและลดการสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานเนื่องจากความร้องจากการอัดอากาศ
ติดเทอร์โบแล้วประหยัดน้ำมันหรือไม่ ?
ในขณะที่ต้องการความเร็วเพิ่มขึ้นเทอร์โบต้องการแรงอัดไอดีมากกว่าปกติเพื่อทำให้การเผาไหม้ให้สมบูรณ์ มีกำลังมากขึ้นย่อมสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นธรรมดา แต่ถ้าใส่ความเร็วเท่ากับเครื่องธรรมดาที่ไม่ติดเทอร์โบจะประหยัดกว่าแน่นอน
การติดเทอร์โบควรปรับปรุงระบบช่วงล่างหรือไม่ ?
เมื่อรถมีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วงล่างก็ต้องมีการปรับปรุงเพื่อรับกับความเร็ว สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้
- เปลี่ยนยางหน้ากว้างขึ้นเพื่อยึดเกาะถนน
- เปลี่ยนโช้คให้มีความหนืดมากกว่าเดิมช่วยให้รถวิ่งนิ่งไม่โยนตัว
- เปลี่ยนน้ำมันเบรคเป็นเกรดทนความร้อนสูง
- ผ้าเบรคเปลี่ยนเป็นแบบทนความร้อน
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเทอร์โบ
- ออยคูลเลอร์ (oil Cooller) เป็นตัวระบายความร้อนน้ำมันหล่อลื่นโดยทำเป็นรังผึ้งติดดับลมไว้หน้ารถ
- อินเตอร์คูลเลอร์ (Inter Cooller) เป็นตัวช่วยระบายความร้อนของอากาศที่เทอร์โบอัดมาด้วยความแรงสูงๆ ให้เย็นลงเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเดิมที่มีรูปร่างเป็นรังผึ้งมีช่องให้อากาศไหลผ่านบางแบบใช้น้ำระบายความร้อนร่วมกับอากาศด้วย
- เทอร์โบทามเมอร์ (Turbo Timmer) เป็นอุปกรณ์ดับเครื่องยนต์ตมกำหนดเวลาที่ตั้งไว้หลังจากหยุดรถแล้ว เพื่อลดความเร็วรอบและลดความเร็วของตัวเทอร์โบ
- ฮู้ดดับลมฝากระโปรง เป็นช่องที่ทำไว้ที่ฝากระโปรงเพื่อดับลมเข้าช่องดูดลมเทอร์โบ
จุดดูแลซ่อมบำรุงเทอร์โบ
การติดเทอร์โบเพื่อเพิ่มสมรรถภาพให้เครื่องยนต์มีส่วนประกอบในจุดของเทอร์โบมากมาย นำมาประกอบเข้ากับเครื่องยนต์ อุปกรณ์มีทั้งอยู่กับที่และส่วนที่ต้องมีการทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เทอร์โบทำงานได้ตามความต้องการของเราและลดการเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อปฎิบัติในการดูแลเทอร์โบ
1. เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ห้ามเร่งเครื่องยนต์ทันที ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาไว้สักครู่
2. หลังการใช้งานก่อนดับเครื่องยนต์ต้องทำการเดินเบาเครื่องทุกๆๆครั้ง เพื่อลดความเร็วรอบกังหันเทอร์โบและให้มีการนะบายความร้อน การดับเครื่องยนต์ทันทีทันใดจะทำให้ไม่มีน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นแกนเทอร์โบ ทำให้แกนเทอร์โบไหม้ได้ การป้องกันการลืมทำได้โดยการติ้งตั้งอุปกรณ์กันลืทไว้เรียกว่า "เทอร์โบ ทาเมอร์"
3. เปลี่ยถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองตามกำหนดเวลา
4. ตรวจสอบรอยรั่วของน้ำมันเครื่องและตรวจท่อทางดูดอาดาศและข้อต่อท่อไอเสีย
5.การนำรถไปใช้งานหนักต้องติดตั้งออยคูลเลอร์เพิ่มเพื่อช่วยระบายความร้อนโดยมีเทอร์โมสตัทเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ
6.หม้อกรองอากาศต้องทำความสะอาดบ่อยๆ
จุดสังเกคุในการทำงานของเทอร์โบ
- ตรวจดูความเร็วสูงสุดในการทำงาน
- อัตราเร่งของเทอร์โบ
- ตรวจดูเกย์วัดแรงดัน (boost quaqe) ในช่วงที่เทอร์โบเริ่มทำงาน
- ตรวจดูความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง
- ตรวจดูความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
อาการผิดปกติของเทอร์โบ
- มีเสียงสั่นสะท้านหรือดังในรอบสูงๆ
- สิ้นเปลืองน้ำมันเคืรื่องโดยมีควันขาวออกทางท่อไอเสีย
- มีเสียงระเบิดหรือน๊อตในเทอร์โบ (เกิดจากใช้น้ำมันอ๊อคเทน มันเบอร์ไม่ถูกต้อง หรือตั้งไฟผิด)
- เครื่องกำลังตก (กรองอากาศอุดตันหรือสกปรก เครื่องยนต์จูนไม่ถูกต้อง)