บทความรวมเรื่องราวต่างๆสำหรับคนใช้รถกระบะ

การโหลดเตี้ยรถกระบะ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
การตกแต่งรถกระบะที่ได้รับความนิยมของผู้เป็นเจ้าของอีกอย่างหนึ่งคือ การลดความสูงของตัวรถลงหรือการ "โหลด" นั้นมีจุดประสงค์เพื่อความสวยงาม รถวิ่งเกาะถนนมากขึ้น ในขณะใช้ความเร็วสูงๆ การตกแต่งที่ถูกวิธีนั้นเจ้าของรถควรทำการศึกษาก่อนที่จะนำรถไปเสริมหล่อเสริมสวย ให้ถูกใจและตรงความมุ่งหมายที่ต้องการ




การโหลดเตี้ยของรถกระบะแบ่งเป็น 2 อย่างคือ

1.ตกแต่งเครื่องล่าง ช่วงหน้า
2. ตกแต่ง เครื่องล่าง ช่วงหลัง

ระบบช่วงล่างของรถยนต์ยังแบ่งตามประเภทตามการใช้งานและการพัฒนาของรถยนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรง นุ่มนวลในการขับขี่

ระบบช่วงล่างแบบอิสระกับทอร์ชั่นบาร์ ระบบนี้ได้พัฒนาให้เกาะถนนและนุ่มนวลขึ้นการทำงานของล้อจะเป็นอิสระของปีกนกล่าง-บน

การปรับแต่ง
- ปรับระดับความสูงของแขนปรับระดับทอร์ชั่นบาร์ (ถ้าต้องการปรับมากให้ใช้ชุดแต่งมาเปลี่ยนใส่)

ระบบช่วงล่างแบบคานเหล็กคอยล์สปริง ระบบนี้นิยมใช้ในรถตรวจการณ์ เช่น รถจิ๊บเชอโรกี มิซูบิชิปาเจโร จะให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ไม่เหมาะนำมาบรรทุกมากๆ

การปรับแต่ง
- ทำการปรับเปลี่ยนขนาดของสปริงให้สูง - ต่ำ ตามต้องการ (มีชุดแต่งสำเร็จ)
- เปลี่ยนโช้คอัพเป็นแกนสั้น

ระบบช่วงล่างคานแข็งคอยล์สปริงด้านหลัง
โหลดเตี้ยทำได้โดย
- เปลี่ยนความสูง - ตำของสปริง (มีชุดแต่ง)
- เปลี่ยนโช้คอัพเป็นแบบแกนสั้นลง
Read more ...

การยกสูงรถกระบะ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
การตกแต่งรถกระบะเพื่อความสวยงามและตกแต่งเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะกับงานนั้นสมัยนี้นิยมแต่งเป็นรถ OFF ROAD ท่านเจ้าของรถกระบะทีต้องการแต่งรถก่อนนำรถไปทำการตกแต่งควรจะต้องมีการศึกษาแนวทางเพื่อการตกแต่งที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวรถของท่านตามหลักการที่ถูกต้อง 


การยกสูงแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆคือ

 1. แบบยกตัวถัง
 2. แบบปรับปรุงยกช่วงล่าง

*รถที่นำมาตกแต่งใช้ได้ทั้งรถขับเคลื่อน 2 ล้อและขับเคลื่อน 4 ล้อ

 ก่อนเพิ่มความสูงต้องทำอย่างไร
- วัดความสูงเดิมของรถโดยวัดจากพื้นถึงอุโมงค์ล้อรถยนต์
- กำหนดขนาดล้อที่ต้องการจะเปลี่ยน (การยกสูงจ้องเปลี่ยนขนาดล้อใหญ่ขึ้น)
- กำหนดความสูงใหม่ของรถที่ต้องการเปลี่ยนเทียบกับขนาดยางใหม่อย่าให้ระยะอุโมงค์ล้อชิดเกินไป

 การยกสูงแบบยกช่วงล่าง

 ช่วงล่างด้านหน้า
-  ทำการเปรับทอร์ชั่นบาร์ให้สูงขึ้น
- เปลี่ยนโช๊คอัพเป็นแบบใช้แก๊ส (เพื่อรับน้ำหนักและลดการสะเทือนและการทรงตัวที่ดีขึ้น)
- เปลี่ยนขนาดยางให้ใหญ่ขึ้น ช่วงล่างด้านหลัง
- เปลี่ยนโตงเตงแหนบหลังใหม่
- เปลี่ยนโช้คอัพเป็นแบบแก๊ส


*การยกสูงวิธีนี้ได้ความสูงพอประมาณ 

การยกสูงแบบยกตัวถัง (ยกบอดี้) วิธีนี้จะได้ความสูงมากแต่ต้องเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมช่วงล่างมาก
- ยกตัวถังจากโครงรถ แล้วรองงด้วยชุดเสริมตัวถังทำด้วยเหล็ก ทุกจุด
- โช้คอัพ หน้า - หลัง เปลี่ยนเป็นแบบแก๊ส
- โช้คอัพหลังเพิ่มแหนบ 1 คู่กับล้อสะบัดเวลาออกตัว
- โช้คอัพยึดระหว่างเพลากับกระบะเพื่อไม่ให้กระบะโยน
- โช้คอัพกันพวงมาลัยสบัด เมื่อเวลาตกหลุมหรือใส่ล้อใหญ่ๆ
- เพิ่มเหล็กกันโคลง หม้อลมเบรค พวกมาลัดพาวเวอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับ


Read more ...

เทอร์โบคืออะไร

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
เทอร์โบคืออุปกรณ์สำหรับเพิ่งปริมาณไอดี (น้ำมันเชื้อเพลิง+อากาศ) ซึ่งเครื่องยนต์ใช้ในจังหวะจุดระเบิดกำลังทำงาน ทำให้ได้แรงม้าเครื่องยนต์มีกำลังงานเพิ่มขึ้น




อุปกรณ์สำคัญของเทอร์โบประกอบได้ด้วย

- ส่วนคอมเพรสเซอร์
- ส่วนเทอร์โบ
- การทำงานของเทอร์โบ

ตัวเทอร์โบประกอบไปด้วยใบพัดของคอมเพรสเซอร์และใบพัดของเทอร์โบหมุนอยู่ยนแกนเดียวกัน แต่อยู่คนละส่วน เมื่อเริ่มทำงาน ไอเสียจากเครื่องยนต์จะถูกต่อมาทางส่วนเทอร์โบน์ ทำให้ใบพัดเทอร์ไบน์หมุนเมื่อแกนเทอไบน์หมุนใบพัดคอมเพรสเซอร์จะดูดอากาศอัดผ่านคาบูเรเตอร์ อัดส่วนผสมไอดีเข้ากระบอกสูบ

ก่อนผ่านคาร์บูเรเตอร์จะมีลิ้นควบคุมกำลังดันเพื่อลดกำลังดันให้เหมาะแก่การติดเครื่องยนต์ไอดีที่ผ่านคาร์บูเรเตอร์จะผ่ายตัวระบายความร้อน (Inter Cooller) เพื่อทำให้ไอดีเย็นลงและลดการสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานเนื่องจากความร้องจากการอัดอากาศ



ติดเทอร์โบแล้วประหยัดน้ำมันหรือไม่ ?

ในขณะที่ต้องการความเร็วเพิ่มขึ้นเทอร์โบต้องการแรงอัดไอดีมากกว่าปกติเพื่อทำให้การเผาไหม้ให้สมบูรณ์ มีกำลังมากขึ้นย่อมสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นธรรมดา แต่ถ้าใส่ความเร็วเท่ากับเครื่องธรรมดาที่ไม่ติดเทอร์โบจะประหยัดกว่าแน่นอน

การติดเทอร์โบควรปรับปรุงระบบช่วงล่างหรือไม่ ?

เมื่อรถมีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วงล่างก็ต้องมีการปรับปรุงเพื่อรับกับความเร็ว สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้

- เปลี่ยนยางหน้ากว้างขึ้นเพื่อยึดเกาะถนน
- เปลี่ยนโช้คให้มีความหนืดมากกว่าเดิมช่วยให้รถวิ่งนิ่งไม่โยนตัว
- เปลี่ยนน้ำมันเบรคเป็นเกรดทนความร้อนสูง
- ผ้าเบรคเปลี่ยนเป็นแบบทนความร้อน

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเทอร์โบ

- ออยคูลเลอร์ (oil Cooller) เป็นตัวระบายความร้อนน้ำมันหล่อลื่นโดยทำเป็นรังผึ้งติดดับลมไว้หน้ารถ
- อินเตอร์คูลเลอร์ (Inter Cooller) เป็นตัวช่วยระบายความร้อนของอากาศที่เทอร์โบอัดมาด้วยความแรงสูงๆ ให้เย็นลงเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเดิมที่มีรูปร่างเป็นรังผึ้งมีช่องให้อากาศไหลผ่านบางแบบใช้น้ำระบายความร้อนร่วมกับอากาศด้วย
- เทอร์โบทามเมอร์ (Turbo Timmer) เป็นอุปกรณ์ดับเครื่องยนต์ตมกำหนดเวลาที่ตั้งไว้หลังจากหยุดรถแล้ว เพื่อลดความเร็วรอบและลดความเร็วของตัวเทอร์โบ
- ฮู้ดดับลมฝากระโปรง เป็นช่องที่ทำไว้ที่ฝากระโปรงเพื่อดับลมเข้าช่องดูดลมเทอร์โบ

จุดดูแลซ่อมบำรุงเทอร์โบ

การติดเทอร์โบเพื่อเพิ่มสมรรถภาพให้เครื่องยนต์มีส่วนประกอบในจุดของเทอร์โบมากมาย นำมาประกอบเข้ากับเครื่องยนต์ อุปกรณ์มีทั้งอยู่กับที่และส่วนที่ต้องมีการทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เทอร์โบทำงานได้ตามความต้องการของเราและลดการเสียหายที่เกิดขึ้น

ข้อปฎิบัติในการดูแลเทอร์โบ

1. เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ห้ามเร่งเครื่องยนต์ทันที ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาไว้สักครู่
2. หลังการใช้งานก่อนดับเครื่องยนต์ต้องทำการเดินเบาเครื่องทุกๆๆครั้ง เพื่อลดความเร็วรอบกังหันเทอร์โบและให้มีการนะบายความร้อน การดับเครื่องยนต์ทันทีทันใดจะทำให้ไม่มีน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นแกนเทอร์โบ ทำให้แกนเทอร์โบไหม้ได้ การป้องกันการลืมทำได้โดยการติ้งตั้งอุปกรณ์กันลืทไว้เรียกว่า "เทอร์โบ ทาเมอร์"
3. เปลี่ยถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองตามกำหนดเวลา
4. ตรวจสอบรอยรั่วของน้ำมันเครื่องและตรวจท่อทางดูดอาดาศและข้อต่อท่อไอเสีย
5.การนำรถไปใช้งานหนักต้องติดตั้งออยคูลเลอร์เพิ่มเพื่อช่วยระบายความร้อนโดยมีเทอร์โมสตัทเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ
6.หม้อกรองอากาศต้องทำความสะอาดบ่อยๆ

จุดสังเกคุในการทำงานของเทอร์โบ

- ตรวจดูความเร็วสูงสุดในการทำงาน
- อัตราเร่งของเทอร์โบ
- ตรวจดูเกย์วัดแรงดัน (boost quaqe) ในช่วงที่เทอร์โบเริ่มทำงาน
- ตรวจดูความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง
- ตรวจดูความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

อาการผิดปกติของเทอร์โบ

- มีเสียงสั่นสะท้านหรือดังในรอบสูงๆ
- สิ้นเปลืองน้ำมันเคืรื่องโดยมีควันขาวออกทางท่อไอเสีย
- มีเสียงระเบิดหรือน๊อตในเทอร์โบ (เกิดจากใช้น้ำมันอ๊อคเทน มันเบอร์ไม่ถูกต้อง หรือตั้งไฟผิด)
- เครื่องกำลังตก (กรองอากาศอุดตันหรือสกปรก เครื่องยนต์จูนไม่ถูกต้อง)



Read more ...

รถมีควันดำควรทำอย่างไร

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
ปัญหาของคนใช้รถกระบะที่มีเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลคือไอเสียที่ปล่อยออกมาในขณะใช้งานมีลักษณะที่ดำ ซึ่งเป็นบ่อเกิดสิ่งที่ทำให้สภาวะอากาศเป็นพิษ เป็นเหตุให้รัฐบาลออกมารณรงค์ขจัดปัญหามลพิษนี้มีการกวดขันจับกุมตรวจสภาพควันดำจนสร้างปัญหาให้แก่ผู้ใช้รถและเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก เพื่อแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้เรามาทำความเข้าใจบ่อเกิดปัญหาและวิธีแก้ไขควันดำกันเถอะ



สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดควันดำ

- จากสภาพเครื่องยนต์
- การปรับแต่งปั้มจ่ายน้ำมันไม่พอดี
- ลักษณะนิสัยในการขับขี่

สาเหตุของควันดำจากสภาพเครื่องยนต์

- เครื่องยนต์หลวม เครื่องยนที่ใช้งานไปนานๆเกิดการสึกหรอระหว่างลูกสูบกับเสื้อสูบเครื่องยนต์ดีเซลทำงานโดยอาศัยแรงอัดอากาศเมื่อเครื่องหลวมทำให้กำลังอัดรั่วไหลไปเร่งเครื่องยนต์ไม่ขึ้น การเร่งน้ำมันเข้าไปมากๆทำให้การเผาไหม้ไม่หมดจึงเกิดเป็นควันดำขึ้น วิธีแก้ไขก็คือ การยกเครื่องซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่นั่นเอง

- ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงและหัวฉีดเสื่อมสภาพ เมื่อปั๊มฉีดน้ำมันเสื่อมการฉีกน้ำมันจะไม่ได้ฝอยที่ละเอียดพอประกอบกับการสึกหรอของเข็มฉีดแรงดันน้ำมันอ่อนทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เกิดควันดำ วิธีแก้ไขก็คอ ตรวจเช็คแรงดันน้ำมันหัวฉีด ตรวจการสึกหรอเข็มฉีด ตรวจการอ่อนล้าของสปริงหัวฉีด

- การปรับแต่้งปั๊มจ่ายน้ำมันไม่พอดี เมื่อรถถูกใช้งานสักระยะหนึ่งต้องมีการปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อให้มีการฉีดน้ำมันที่เหมาะสมการทำงานที่มีการคลาดเคลื่อนเกิดจากการสึกหรอของอุปกรณ์ต่างๆเช่น เข็มฉีดน้ำมันสึกหรอ สปริงดันเข็มอ่อนล้า วิธีแก้ไขคือ ปรับแต่งปั๊มหัวฉีดน้ำมันใหม่ ปรับตัวองศาการฉีดน้ำมัน ตรวจการสึกหรอของเข็มฉีด และ ตรวจความอ่อนล้าของสปริงหัวฉีด

สาเหตุของควันดำจากลักษณะนิสัยในการขับขี่

การเปลี่ยนเกียร์ไม่สัมพันธ์กับความเร็ว ในจังหวะเกียร์สูงการเร่งคันเร่งน้ำมันเพื่อจ้องให้เครื่องยนต์เร่งมากๆ เครื่องจะเร่งขึ้นได้ช้า หนักแรง น้ำมันที่เร่งเข้ามามากจะทำให้การเผาไหม้ไม่หมด การแก้ไข เมื่อรถบรรทุกน้ำหนักมากๆ ไม่ควรลากเกียร์วิ่งยาวๆ ควรเปลี่ยนเกียร์ให้สัมพันธ์กับจังหวะของเครื่อง

ขั้นตอนการตรวจสอบควันดำ

"ประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงานกำหนดวิธีการวัดไอเสียขากท่อไอเสียรถยนต์ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2531"

- การวัดจะกระทำขณะรถจอด
- เร่งคันเริ่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่ง
- ใช้กระดาษดูดควันซึ่งมีลักษณะเป็นกระดาษกรองดักควันให้คิดค้างอยู่
- วัดความดดำของกระดาษกรองด้วยเครื่องมือ "Smoke meter" ค่าวัดที่ได้จะต้องไม่เกิน 50%

การวัดความดำของควันแบบไหนจึงจะถูกต้องและยุติธรรม

ตัวดูดควันที่เจ้าหน้าที่สอดเข้าไปในท่อไอเสียมีลักษณะเป็นกระบอกลูกสูบถูกดันด้วยสปริงมีสายต่อสำหรับบังคับบีบเอาไว้ถืออีกด้านหนึ่งจะมีหัวเสียบเป็นโลหะแข็งเป็นท่อเล็กๆตรงปลายสุดมีครีบรอบๆเพื่อไม่ให้ถูกกับท่อไอเสีย

- การปฏิบัติที่ถูกต้องในการวัด
- ทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งก่อนที่จะใช้กับรถทุกคันเพื่อป้องกันเขม่าตกค้างในท่อตัวดูดเมื่อทำการวัดจะทำให้เกิดความเป็นจริง การำความสะอาดกระดาษกรองไส่เข้าไปทำลองดูดดูโดยไม่ต้องเสียท่อไอเสีย กระดาษจะต้องเป็นสีขาวจึงจะทำการวัดต่อไปได้
- เมื่อได้กระดาษกรองที่ดูดควันจากท่อไอเสียมาแล้วการนำไปวัดที่เครื่อง "Smoke meter"จะมีหัวครอบเป็นตัวเซนเซอร์วางครอบบนแผ่นกระดาษกรอง ค่าที่วัดได้จะขึ้นที่หน้าปัดเป็นตัวเลข
- การวัดต้องทำการปรับค่าของเครื่องโดยวัดกระดาษกรองขาวๆ ค่าที่วัดได้ต้องเป็นศูนย์ทุกครั้งและที่ได้แผ่นต้องรองด้วยกระดาษกรองเปล่าๆสัก 10 แผ่น เพื่อป้องกันการสะท้อนกับวัตถุทึบแสงเช่นโต๊ะ จะทำให้ต่าออกมาผิด
Read more ...

เฮดเดอร์คืออะไร

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
เฮดเดอร์ก็คือ ระบบการจัดการระบายไอเสียของรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วโดยการจัดวางตำแหน่งของท่อไอเสียให้ถูกต้องเพื่อให้ไอเสียที่ออกมาถ่ายเทดีขึ้น



เฮดเดอร์ 4-2-1 คืออะไร

4-2-1 หรือ 4-1 เป็นการจัดรวมท่อไอเสียรถยนต์ให้เป็นระบบ 4-2-1 คือจัดให้ท่อที่ออกมาจากเครื่องยนต์ 4 ท่อแล้วรวมเป็น 2 ท่อ ขึ้นสุดท้ายรวมเป็น 1 ท่อ ส่วน 4-1 ท่อจะออกมา 4 ม่อแล้วรวมกันเป็น 1 ท่อในขั้นสุดท้าย ซึ่ง แบบ 4-1 จะระบายไอเสียได้รวดเร็วกว่า เพราะว่าช่วยการไหลของไอเสียก่อนที่จะรวมที่ท่อรวมจะมีระยะทางยาวกว่ากระมาณ 2 เท่า โอกาศที่ไอเสียจะไหลออกที่ท่อ 1 น้อยมากส่วนแบบ 4-2-1 จะมีระยะทางการไหลของไอเสียสั้นกว่าแบบแรก ทำให้มีการรวมตัวกันมากที่ท่อรวม 1 ควรระบายไอเสียสู้แบบแรกไม่ได้ แต่มีผู้นิยมติดกันมากกว่าเพราะแบบ 4-2-1 จะใช้เนื้อที่ติดตั้งนิยมกว่าแบบแรก

ประโยชน์ของเฮดเดอร์
1.จะช่วยระบายไอเสียของรถยนต์ได้คล่องตัวขึ้น
2.การระบายไอเสียได้รวดเร็วทำให้การดูดไอเสียเข้ามาในกระบอกสูบเพิ่มมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น
3.ทำให้กำลังของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% เนื่องจากการดูดไอดีเพิ่มขึ้น

ข้อเสียของเฮดเดอร์
1.การติดตั้งและดัดแปลงท่อไอเสียต้องได้ช่างที่มีความรู้และชำนานในการติดตั้ง
2.อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการไหลเวียน ถ่ายไอเสียที่ดีมีประสิทธิภาพ การดูดไอดีย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3.เสียงดังของท่อไอเสียอาจทำความรบกวนผู้อื่นได้


Read more ...

เครื่องยนต์ดีเซลคืออะไร

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556
รถกระบะในวันนี้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้อย่างมากจนกล่าวได้ว่าเป็นรถอเนกประสงค์ใช้งานสารพัดอย่างได้ทั้งงานหรักงานเบาทางผู้ผลิตได้ออกดแบบให้มีความแข็งแรงของตัวถังและเครื่องยนต์ซึ่งเครื่องต์นั้นก็มีทั้งแบบใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง



เครื่องยนต์ดีเซลที่นำมาใช้กับรถกระบะนั้นดูจะได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากความประหยัดของน้ำมันซึ่งราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิล เครื่องยนต์มีความแข็งแรงให้แรงม้าได้มากและบำรุงรักษาง่าย

การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลก็มีหลักการคล้ายๆกับเครื่องยนต์เบนซิล ดังนั้นจึงมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกัน แต่จะถูกส้รางให้แข็งแรงกว่าเพราะการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลต้องอาศัยการอัดตัวของอากาศซึ่งมีแรงดันสูงมาก

การทำงานจะแตกต่างกันที่ วิธีการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและวิธีการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงกับอากาศที่ถูกบรรจุภายในกระบอกสูบ

เครื่องยนต์เบนซิลจะดูดเอาน้ำมันผสมกับอากาศเข้าไปในกระบอกสูบและทำการจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลดูดเอาแต่อากาศอย่างเดียวเข้ากระบอกสูบแล้วอัดอากาศให้มีความร้อนและทำการจุดระเบิดด้วยหัวฉีดน้ำมันเป็นฝอยเข้าไปในจังหวะจุดระเบิด

ด้วยเหตุนี้การผลิตให้เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพในการทำงานเต็มที่จะต้องมีการออกแบบผลิตห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์เพื่อให้การเผาไหม้เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ห้องเผาไหม้ที่ใช้แบ่งใหญ่ๆได้ 2 แบบคือ

1.ห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวนหรือห้องเผาไหม้แบบเปิด
2.ห้องเผาไหม้แบบมีอากาศไหลวนแบ่งได้เป็น
- แบบมีห้องเผาไหม้ช่วย
- แบบใชช้อากาศวกวนแรงดันสูง
- แบบห้องเผาไหม้ 2 ตอน

1. ห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน (The non-turbulent type) ห้องเผาไหม้ประเภทนี้จะไม่มีอากาศอัดตัวไหลวนในห้องเผาไหม้หรือมีก็น้อยที่สุด ลูกสูบของห้องเผาไหม้แบบนี้จะเว้าเป็นแอ่งที่หัวลูกสูบบางทีก็ที่ฝาสูบ หัวฉีดน้ำมันจะอยู่กึ่งกลางและเป็นแบบหลายรู ทำมุมเท่ากันเพื่อให้น้ำมันแตกเป็นฝอยการฉีดน้ำมันจะฉีดโดยตรงเข้าห้องเผาไหม้

ข้อดีของห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน
1.ไม่ต้องอาศัยอากาศวกวนมาก
2.ไม่ยุ่งยากในการซ่อม เพราะฝาสูบเป็นแบบธรรมดา
3.ใช้อัตราส่วนการอัดอากาศได้ต่ำ
4.เครื่องยนต์เดินเรีบยสม่ำเสมอ
5.การฉีดน้ำมันโดยตรงเข้าห้องเผาไหม้ทำให้มีค่าความร้อนต่ำ ติดเครื่องได้ง่ายทุกสภาวะ

ข้อเสียของห้องเผาไหม้แบบไม่มีอากาศไหลวน
1.ความเ็วรอบสูงสุดไม่ค่อยดี
2.การฉีดน้ำมันต้องใช้แรงดันสูง
3.ต้องใช้หัวฉีดชนิดหลายรูและรูเล็กมาก
4.แอ่งบนหัวลูกสูบที่เว้าเอาไว้มักทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันง่ายต่อการเสียรูปทรง

**จากการฉีดน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้โดยตรงเราเรียกระบบนี้ว่า "Direct Injection"

2.ห้องเผาไหม้แบบอากาศวน (Turbulent type) ห้องเผาไหม้ชนิดนี้แบ่งได้เป็น

1. แบบมีห้องเผาไหม้ช่วย (Pre-combustion chamber System) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง ห้องเผาไหม้ช่วยจะทำไว้ที่ฝาสูบหรือทำเป็นห้องเล็กๆบนหัวลูกสูบ การทำงานอาศจะถูกอัดเข้าไปในห้องเผาไหม้ช่วย หัวฉีดจะทำการฉีกน้ำมันจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ช่วยก่อนแล้วจึงลุกลามออกมาภายนอกห้องเผาไหม้ใหญ่ การเผาไหม้จะสมบูรณ์มากขึ้น

ข้อดีของห้องเผาไหม้ชนิดนี้
1.เชื้อเพลิงเกิดการลุกเผาไหม้ง่าย แม้น้ำมันจะฉีดไม่เป็นฝอย
2.แรงดันฉีดน้ำมันต่ำ
3.การเก็บความร้อนไว้ทำให้อุณหภูมิขณะฉีดน้ำมันสูงตลอดเวลา

ข้อเสีย
1.เหมาะกับเครื่องยนต์เล็ก
2.การไล่ไอเสียออกจากห้องเผาไหม้ช่วยจะทำได้ไม่ดี
3.เครื่องยต์ติดยากต้องใช้ห้องเผาช่วย

2.ห้องเผาไหม้แบบอากาศวนแรงดันสูง (The rotation Swirl) ห้องเผาไหม้นี้คล้ายกับแบบที่ 1 แต่ได้ทำการขยายห้องเผาไหม้ช่วยใหญ่ขึ้นละจัดวางไว้ข้างใดข้างหนึ่งของลูกสูบมีลักษณ์ทรงกลม อากาศจะถูกอัดวนไปรอบๆหัวฉีดน้ำัมันสวนทางกับการไหลของอากาศ เกิดการคลุกเคล้าได้ดี

ข้อเสียของห้องเผาไหม้ประเภทนี้ คือ ทางเข้าอากาศของห้องเผาไหม้จะเล็กมากทำให้สูญเสียความร้อนในการไหลวนของอากาศเข้าห้องเผาไหม้เป็นสาเหตุทำให้เครื่องติดยาก

3.ห้องเผาไหม้แบบ 2 ตอน (Air cell) ห้องเผาไหม้แบบนี้จะมีห้องเผาใหม้ใหญ่อยู่ในฝาสูบใต้ลิ้นไอเสียและใต้ห้องเผาใหม้ใหญ่จะมีห้องเผาไหม้เล็ก (Air cell) ติดอยู่ที่ช่องต่อถึงกัน หัวฉีดจะถูกติดไว้ในแนวเดียวกับ Air cell แต่อยู่ตรงข้ามกัน การทำงาน เมื่อลูกสูบทำการอัดอากาศเข้าห้องเผาไหม้ อากาศส่วนถึงจะเข้าไปยัง Air cell หัวฉีกทำการฉีดเชื้อเพลิงฟองน้ำมันส่วนหนึ่งเข้าไปใน Air cell ด้วยและทำการลุกไหม้อย่างรุนแรงหมดจด

ข้อดี
1.ให้กำลังงานได้สูงกว่า
2.การคลุกเคล้าอากาศกับเชื้อเพลิงทำได้ดีกว่า
3.ควบคุมกรเผาไหม้ได้
ข้อเสีย
1.เป็นระบบที่ยุ่งยาก
2.เหมาะกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก
3.ราคาสูง

จากการทำงานของห้องเผาไหม้ชนิดต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเอาไว้ประกอบการพิจารณาในการเป็นเจ้าของรถกระบะเพื่อนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องตรงตามจุดประสงค์ที่ท่านต้องการได้
Read more ...

ทำไมต้องคาดเข็มขัดนิรภัย

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556
การใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางทุกวันนี้กลายเป็นความจำเป็นของคุณทุกคนไปแล้ว ไม่ว่าจะใช้ไปทำงาน ขนของหรือไปพักผ่อนสุดสัปดาห์ ก็ต้องอาศัยรถยนต์ด้วยกันทั้งนั้น จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของรถยนต์นั้นมากมายมหาศาล จนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาอยากจะเป็นเจ้าของ แต่การใช้รถยนต์นั้นแฝงไปด้วยอันตรายจากการใช้ ประโยชน์ของมัน ซุ่งมาในรูปของอุบัติเหตุต่างๆในปีหนึ่งๆ จำนวนยอดอุบัติเหตุของรถยนต์ได้เพิ่มขึ้นทุกปีจนน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ขาดความรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุหรือละเลยในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการป้องกันภัยต่างๆ รวมั้งตัวรถเอง ที่ไม่มีอุปกรณ์การติดตั้งให้อุปกรณ์ที่กล่าวถึงคือ เข็มขัดนิรภัย


เข็มขัดนิรภัยแบบไหนดี

ตามมาตราฐานเข็มขัดนิรภัยของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะนำมาใช้กับรถนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ออกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติมาตราฐาน ผลิตภัณฆ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มี 3 ข้อค้วยกันคือ

1.เข็มขัดนิรภัย คือ อุปกรณ์ที่ใช้ลดความรุนแรงจากอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุ

2.เข็มขัดนิรภัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ประเภทมีชุดดึงกลับ
- ประเภทไม่มีชุดดึงกลับ

3.แบ่งการใช้งานได้ 2 แบบคือ
- แบบยึด 2 จุด
- แบบยึด 3 จุด

เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตราฐานจะต้องมีเครื่องหมายที่ฉลากของตัวเข็มขัด เพื่อแจงรายละเอียด เช่น ชื่อผลิตภัณฆ์ ชื่อผู้ทำและเครื่องหมายการค้าแบบหรือรุ่นที่ผลิต สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องพิมพ์ชัดเจนไม่เลอะเลือน เข็มขัดนิรภัยที่นำเข้าต่างประเทศต้องได้รับมาตรฐานรับรองด้วย



การทำงานของเข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัยที่นิยมใช้ในรถยนต์ส่วนมากจะมีอยู่ 2 แบบ
- แบบยึด 2 จุดจะมีสายรัดผ่านหน้าตัด
- แบบยึด 3 จุดจะมีสายรัดผ่านหน้าตักและรัดผ่านไหล่
**ส่วนมากจะใช้ในที่นั่งคนขับกับผู้ที่นั่งริมนอก คนที่นั่งกลางจะใช้แบบยึด 2 จุด

เข็มขัดนิรภัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นแบบยึด 3 จุด มีที่ม้วนเก็บสายในตัวเมื่อเลิกใช้แล้วสายจะม้วนเก็ยเองนอกจากนี้ยังได้เพิ่มชุดล๊อกสายเข็มขัดอัตโนมัต ชุดล๊อกสายนี้จะทำงานเองในจังหวะที่เกิดแรงกระชากสาย (แรงเหวี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ) ทำให้รั้งตัวผู้นั่งอยู่กับที่ไม่ให้ไปกระแทกกับกระจกลดอันตรายจากการบาดเจ็บของร่างกาย

การคาดอย่างถกวิธีนั้นไม่เป็นเรื่องยากเพราะจุดประสงค์ใหญ่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายๆ การใช้งานเพียงแค่ดึงสายออกมาจากที่เก็บสาย ลากสายให้ผ่านหน้าตักและไหล นำตัวล็อกไปใส่ที่หัวเข็มขัด ขยับสายเข็มขัดให้รัดตวในท่าสบายๆ ก็เป็นอันเสร็จพิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ส่วนการเลิกใช้งานก็เพียงแค่ปลดตัวล็อคที่หัวเข็มขัดออก สายจะหลุดและออกมาม้วนเก็บเองโดยอัตโนมัต

การติดตั้งเข็มขัดนิรภัย(สำหรับรถรุ่นเก่า)

สำหรับรถยนต์ที่ยังไม่มีเข็มขัดนิรภัยถ้าเป็นรถรุ่นใหม่ๆทางผู้ผลิตได้ทำการติดตั้งไว้แล้ว แต่สำหรับรถรุ่นเก่าตัวรถจะไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดตั้งมาด้วย หรือ ติดตั้งมาให้เพียงแค่จุดยึดเท่านั้น ในการติดตั้งชุดเข็มขัดนิรภัยนั้น ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากเกิดติดตั้งผิดที่อาจจะเกิดอันตรายจากการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยอย่างไม่ถูกต้องก็เป็นได้

การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเปรียบเสมือนมีผู้คุ้มกันภันในยามคับขันบางทีการนั่งไม่ระวังตัวหรือเผลอหลับถ้าเราคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ย่อมทำให้เรามั่นใจในความปลอดภัยไม่มากก็น้อย
Read more ...